ทำไม DNS ล่มเว็บไซต์กับ Email ถึงล่มด้วย

DNS ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของระบบ Website และ Email หาก DNS ที่ใช้นั้นขาดความประความเสถียร ไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของ ระบบ Website และ Email ทันที

ตัวอย่างตามภาพเป็นการแสดง Flow การทำงานโดยสังเขป ของ DNS กับระบบ Mail Server เริ่มจากการส่งออกอีเมล ไปผ่านอินเตอร์เน็ต (ISP) ไปยัง DNS หาข้อมูล DNS Zone สำหรับชี้ทางไปยัง Server Mail  ที่ใช้ในการส่งออก และส่งไปยังผู้รับปลายทางได้สำเร็จในที่สุด ในส่วนของขารับก็เช่นกัน เมื่อข้อมูลถูกส่งเข้ามา DNS ก็มีหน้าที่สำหรับชี้ทางไปยัง Server Mail ที่ใช้ในการรับและส่งต่อไปยังอีเมลขารับ แต่ถ้าหาก DNS มีปัญหาไม่สามารถทำงานได้ อีเมลที่ถูกส่ง หรือได้รับจะได้ในทันที เพราะข้อมูลเหล่านันไม่สามารถหา Root ในการเดินทางของข้อมูลว่าจะต้องไปทางไหนนั้นเอง

Work Flow DNS Web Server

ตัวอย่างตามภาพเป็นการแสดง Flow การทำงานโดยสังเขป ของ DNS กับระบบ Web Server โดยเริ่มต้นจาก ใส่ URL Website ผ่าน Web Browser ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ISP) ไปยัง DNS เพื่อแปลงค่า URL (CNAME) เป็น IP เพื่อเชื่อมต่อกับ Server Website ที่ต้องการ เพื่อให้แสดงผลข้อมูลเว็บไซต์ที่่อยู่ใน Server นั้น ๆ แต่ถ้าหาก DNS ล่ม ก็ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อ กับ Server Website ทำให้ Web Browser ไม่สามารถแสดงผลของเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ แม้อินเตอร์เน็ตจะสามารถใช้งานได้ปกติก็ตาม

 

DNS คุณภาพสูงสำหรับระบบ Hosting

บางครั้งไม่ได้รับ Email เกี่ยวกับ DNS Server อย่างไร

ปัญหาไม่ได้รับอีเมล เป็นปัญหาที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ต้องพบเจอในการรับ-ส่งอีเมล ซึ่งปัญหานี้สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อินเตอร์เน็ต โปรแกรมที่ใช้ ระบบ Email Server รวมถึง DNS Server ที่ใช้ก็มีส่วนเช่นกัน เพราะเมื่อมีอีเมลถูกส่งเข้ามา DNS Server จะมีหน้าชี้ Root ให้กับอีเมลที่ถูกส่งเข้ามาว่าจะต้องถูกส่งต่อไปยังที่ไหนอย่างไร ไม่สามารถทำงานได้ (DNS Down) ในช่วงเวลาที่มีการส่งอีเมลเข้ามาในระบบ อีเมลฉบับดังกล่าวจะไม่ถึงผู้รับเลย และถูกตีกลับไปยังผู้ส่ง (Sender) ทันที ทั้งที่ อินเตอร์เน็ต โปรแกรมที่ใช้ และ Email Server ของผู้รับ ก็ทำงานปกติ แต่ DNS ทางฝั่งของผู้รับ ที่ทำหน้าที่สำคัญคัญในการบอกทางไม่สามารถทำหน้าที่ของมันเองได้

ดังนี้ นอกจากจะให้ความสำคัญกับระบบ Email Server ที่ใช้งานแล้ว DNS ที่มีคุณภาพก็สำคัญต่อระบบอีเมลเป็นอันดับต้น ๆ เช่นกัน ถึงแม้ระบบ Email Server จะไม่เคย Down เลย แต่ถ้านำไปใช้กับ DNS ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็ส่งผลกระทบต่อระบบได้เช่นกัน

 

 

DNS พรีเมี่ยม สำหรับการใช้งานระบบ Email Hosting

International Bandwidth มีผลกับคุณภาพการใช้งานของ DNS อย่างไร

Bandwidth คือ จำนวนปริมาณการรับ และส่งข้อมูล  (Data Transfer) ของอินเทอร์เน็ต โดยวัดความเร็วของการรับ-ส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) จะให้เห็นภาพง่าย ๆ ให้เปรียบเทียบ Bandwidth เป็นท่อส่งน้ำ ถ้าท่อส่งน้ำมีขนาดใหญ่จะทำให้ความเร็วในการส่งน้ำ ซึ่งเปรียบเทียบ  (Data Transfer)  มีความรวดเร็วขึ้น โดย Bandwidth จะแบ่งเป็น สองประเภทคือ International Bandwidth (ระหว่างประเทศ) และ  Domestic Bandwidth(ภายในประเทศ)

International Bandwidth dns

International Bandwidth มีผลกับคุณภาพการใช้งานของ DNS ?

มีผลอย่างแน่นอนในความในด้านความเร็ว แต่ก็ขึ้นอยู่ว่า มีที่ตั้ง DNS Server อยู่ในประเทศใด ถ้าหากเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจระดับโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร ญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้จะมี International Bandwidth ขนาดใหญ่มาก เพื่อรองรับการใช้งานรับส่งข้อมูล  (Data Transfer)  จากทั่วโลก เมื่อ DNS Server ถูกวางไว้ในประเทศเหล่านี้ แน่นอนว่าการทำงาน ของ DNS จะเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ Domestic Bandwidth ที่มีขนาดเล็กกว่า และการใช้งานที่หนาแน่นกว่า ทำให้มีความล่าช้าในการทำงาน หรือ Down ได้ในช่วงเวลาเร่งด่วนที่มีการใช้งานพร้อมกันได้

 

DNS ใน ประเทศที่ International Bandwidth สูง

Hosting DNS และ DNS Premium แตกต่างกันอย่างไร

ข้อเปรียบเทียบ คุณสมบัติ Hosting DNS VS DNS Premium

Hosting DNS VS DNS Premium

Hosting DNS

  • ไม่สามารถ Menage DNS Zone ได้ด้วยตนเอง ต้องให้ผู้ดูแล Server ดำเนินการให้ บางครั้งมีค่าใช้จ่าย
  • หน้า config เป็นแบบ Direct Admin ซึ่งใช้งานยาก หากไม่ชำนาญอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้
  • ประเทศที่ตั้ง DNS ที่ไม่ได้มาตราฐาน ในส่วนของไฟ้ฟ้าสำรอง Bandwidth
  • ไม่มี DNS สำรองในกรณีที่ DNS หลัก เกิดปัญหา ทำให้การทำงานหยุดชะงัก

 

DNS Premium

  • สามารถ Menage DNS Zone ได้ด้วยตนอง ไม่จำกัดจำนวน และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • หน้า Config ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน แม้ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง DNS Zone
  • ประเทศที่ตั้ง DNS อยู่ในประเทศศูนย์กลางเศรษฐกิจ มีความมั่นคงในเรื่องไฟ้ฟ้าสำรอง และ International Bandwidthสูง
  • มี DNS สำรองการใช้งานในกรณีฉุกเฉิน

 

DNS Premium พร้อมทดลองใช้งานฟรี

ประเภทของ DNS Record มีอะไรบ้าง

ภายใน DNS แบ่งออกเป็นชื่อเรียกและการทำงานดังนี้

 

DNS Record

A Record จะเป็นการชี้แบบ IP โดยต้องระบุปลายทางเป็นหมายเลข IP

ยกตัวอย่างเช่น ต้องการชี้ค่า www.sanook.com ไปที่ 61.91.93.188
Name = Domain
Value = 61.91.93.188

 

Cname Record จะเป็นการชี้แบบ Hostname โดยต้องระบุ Server ปลายทางเป็น แบบ Hostname

ยกตัวอย่างเช่น ต้องการชี้ค่า www.sanook.com ไปที่ kubeing1.gslb.sanook.com (ค่า Hostname)
Name = Domain
Value = kubeing1.gslb.sanook.com

 

MX Record จะเป็นการตั้งค่าเพื่อระบุว่าถ้ามี Email วิ่งเข้ามายัง Domain ตนเอง จะให้ Email ฉบับนั้นไปเก็บที่ Mail Hosting ปลายทางที่ใด

ยกตัวอย่าง ต้องการชี้ค่า ระบบอีเมลของ sanook.com
Name = Domain
Piority(ลำดับความสำคัญตัวเลขน้อยยิ่งสำคัญ) = 0
Value (ค่า Hostname) = mx1.sanook.com

 

SPF Record จะใช้เป็นการตั้งค่าโดยผู้ให้บริการ Email Server จะเป็นผู้กำหนดค่ามาให้เพื่อใช้ในการยืนยันว่า Mail Server นั้นอนุญาติให้ Domain คุณส่ง Email จริงๆ

ยกตัวอย่าง ให้ใส่ค่า
Name = Domain
Value = “v=spf1 a:outgoing.sanook.com”

 

TXT Record นิยมใช้เพื่อยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของ Domain จริงๆ

ยกตัวอย่าง ให้ใส่ค่า
Name = dmarc_domain (Tpye ที่จะประกาศค่า)
Value = “v=DMARC1; p=none; aspf=r; fo=0; rua=mailto:dmarc@sanook.com”

 

ค่า TTL เป็นค่าที่กำหนดให้ DNS Server ของ ISP อื่นๆ โดยหน่วยจะเป็นวินาที ว่าจะให้ ISP อื่นๆ นั้นมาทำการ Update ให้ตรงกับค่า DNS ของตนเองทุกๆ กี่วินาที

ยกตัวอย่าง ให้ใส่ค่า
TTL Value : 3600 (เท่ากับ 1 ชั่วโมง)

 

NS Record เป็นการระบุว่าให้ Domain ของคุณ รับฟังค่า DNS Zone จาก DNS Server ตัวใด

ยกตัวอย่าง ให้ใส่ค่า
Name = Domain
Value = ns-1078.awsdns-06.org (ค่า Hostname)

 

 

Free DNS Premium For Hosting

ค่า MX ของ G Suite คืออะไร ?

G Suite คืออะไร ?

G Suite หรือ Google App คือระบบ Email ที่พัฒนาโดย Google ประกอบไปด้วย Email ,Calendar,Hardisk Online หรืออื่นๆอีกมากมาย

ค่า MX ของ G Suite คืออะไร ?

ขั้นตอน

  • เข้าสู่ระบบ Login ที่  https://gsuite.google.com/intl/th/
  • กรอกชื่อ Domain ที่ทำการจดเรียบร้อย
  • เข้าแก้ไข DNS
  • สามารถใส่ค่าได้ตามภาพด้านล่าง

อ้างอิงจาก https://support.google.com/a/answer/174125?hl=en

 

DNS ระดับ Premium สำหรับ Domain

DNS ระดับ Premium ดีอย่างไร

 

Place DNS Server

DNS ระดับ Premium จะทำให้การทำงานระบบ Hosting Server ภายใต้ชื่อโดเมนที่ท่านใช้งานอยู่ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง และมีความเสถียร ด้วยประเทศที่มีการตั้ง DNS Server มีการแยกออกจากกันในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศที่กล่าวมาข้างตนนี้ ที่มี Traffic Bandwidth สูงมาก  จึงทำให้การเชื่อมต่อมีความรวดเร็ว และเสถียรสูง อย่างในกรณีที่เลวร้ายที่สุดหากมีปัญหา DNS ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา ก็ยังมี DNS Server สำรองในอีกประเทศถูกดึงขึ้นมาใช้งานแทนโดยทันที ทำให้การเชื่อมต่อการทำงานระหว่าง Domain และ Server ต่าง ๆ สามารถทำงานได้ต่อเนื่องไม่มีสะดุด

 

DNS Panel  Premium

การบริหารจัดการ DNS Zone สำหรับ DNS ระดับ Premium  ผู้ใช้งานสามารถดูแลจัดการได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านหน้า login การจัดการ DNS Panel ที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ฝ่าย Support มาดำเนินการให้ในเวลาทำการ ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกในการใช้งาน แม้ท่านจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในด้านการกำหนด DNS Zone เลยก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่าน หน้าการจัดการที่เข้าใจง่าย และมีคู่มือการแนะนำการใช้งานในทุกขั้นตอน

Account login Security

DNS เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายใต้โดเมนของท่าน ดังนั้นความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญในระดับต้น ๆ หากมีผู้ไม่หวังดีแอบทำการเปลี่ยน DNS Zone ของท่านโดยพลการ อาจสร้างความเสียหายได้ ระบบการจัดการ DNS Panel ที่มีประสิทธิภาพระดับ Premium จึงต้องมีการตั้งค่าความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ( Account Security) แม้จะรู้ข้อมูล Username และ Password แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตรวจจับ IP Location ของผู้ login หากเป็น IP แปลกปลอม จะไม่อนุญาตให้ login จนกว่าจะมีการใส่ Token ที่ถูกส่งไปยังอีเมลที่มีการลงทะเบียนไว้เท่านั้น

 

DNS ระดับ Premium สำหรับ Domain

 

 

 

ค่า MX ของ Office 365 คืออะไร

Office 365 คืออะไร ?

 

Office 365 คือ บริการจาก Microsoft ที่สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการโปรแกรม Microsoft Office แบบ Online โดยระบบจะถูกเชื่อมต่อบน OneDive โปรแกรมที่ใช้และคุ้นเคยคือ Word,Excel,Powerpoint ,Outlook  และสามารถใช้งานได้หลายอุปกรณ์เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ Smartphone Macbbok เป็นต้น

Mx ของ Office 365 คืออะไร ?

ขั้นตอน

  • Login เข้าสู่ระบบ Office 365 ได้ที่ https://www.office.com/
  • เลือก Domain ของลูกค้าที่มีการจดโดเมนอยู่
  • เลือก DNS Record
  • ใส่ค่า MX ดังต่อไปนี้และกด Add Record

อ้างอิงจาก https://docs.microsoft.com/en-us/office365/admin/dns/create-dns

  • ถ้ามีค่า MX  มากกว่า 1ค่าสามารถ addค่าเพิ่มได้หรือกรณีที่ใส่ค่าผิดสามารถลบ Record ออกได้เช่นกัน

 

ทำไมทำ DNS ภายในบริษัท แล้วจึงเกิดปัญหา

การใช้ server ที่มีอยู่ในบริษัท ทำเป็น DNS นั้น เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหา

ของการใช้งานทั้งอีเมล หรือ website เนื่องจาก หากทุกอย่างถูกตั้งไว้ในที่ ที่เดียวกัน หาก DNS ล่ม ก็หมายถึง website และ อีเมลจะล่มไปด้วยนั่นเอง  และ เนื่องจากระบบอีเมล และ website เสี่ยงต่อการติด blacklist มากกว่าปกติ หากมีการติดไวรัส ดังนั้น เมื่อ server ติด blacklist ขึ้นมา หมายความว่า DNS ที่ใช้ server เดียวกันก็จะติด blacklist ไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอีเมลเป็นอย่างมาก เนื่องจากติด blacklist ในระดับ DNS ด้วย

เราควรกระลดความเสี่ยงหรือ ป้องกันการเกิดปัญหาได้ โดยใช้ DNS จากภายนอก และเลือกที่ DNS แต่ละค่าใช้ server คนละตัวกัน และแต่ละตัวควรตั้งคนละประเทศ จะเป็นการป้องกันปัญหาที่ดี เนื่องจากป้องกันปัญหาว่าหากตัวใดตัวนึง เกิดปัญหาอีกตัวหนึ่งก็จะปกติ หรือมีโอกาสน้อยมากที่จะล่มพร้อมกัน

DNS Premium For Web Hosting

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราใช้ DNS ที่ไหน

เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองว่า Domain name (โดเมน) ที่เราใช้งานอยู่ใช้ DNS ของผู้ให้บริการใด ด้วยวิธีง่าย ๆ

โดยการเข้าไปตรวจสอบผ่านหน้าเว็บไซต์ https://www.whois.com/whois

https://www.whois.com/whois
1. เข้าไปที่  https://www.whois.com/whois

 

 

website whois enter domain
2. ใส่ชื่อ Domain name ที่ต้องการตรวจสอบ และกด Search

 

website whois DNS detail
3. ในส่วนของ Name Server : จะแสดงชื่อ DNS ของโดเมนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

DNS คุณภาพสำหรับระบบ Hosting